กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี (“KBSPIF”) (“กองทุนรวมฯ”)

กองทุนรวมฯ เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทโรงไฟฟ้าซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก
ในการเข้าลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานและนำทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวออกจัดหาประโยชน์

การมีสัญญาซื้อขายระยะยาวสําหรับไฟฟ้า

25.5

เมกะวัตต์

สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

22

เมกะวัตต์

สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ KBS

3.5

เมกะวัตต์

รายได้หลักจากการประกอบกิจการไฟฟ้าของ KPP มาจากการขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. และ KBS โดย KPP ได้เข้าทําสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. (ปริมาณพลังไฟฟ้าไม่เกิน 22 เมกะวัตต์) ซึ่งระยะเวลาสัญญาสิ้นสุดวันที่ 2 มกราคม 2583 และสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ KBS (ปริมาณพลังไฟฟ้าไม่เกิน 3.5 เมกะวัตต์) ซึ่งระยะเวลาสัญญาสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2582 หรือประมาณ 20 ปี โดยกําหนดวันสิ้นสุดระยะเวลาโอนผลประโยชน์ของ KPP ภายใต้สัญญาโอนผลประโยชน์ฯ เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2582 ทั้งนี้ ตามสัญญาโอนผลประโยชน์ฯ มีข้อกําหนดและเงื่อนไขวิธีการคํานวณราคารับซื้อไฟฟ้าอย่างชัดเจน โดยการมีสัญญาระยะยาวกับ กฟผ. และ KBS ข้างต้น จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนรวมฯ เนื่องจากรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. จากประมาณการงบกําไรขาดทุนและการปันส่วนแบ่งตามสมมติฐานสําหรับปีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของรายได้รวมจากการประกอบกิจการไฟฟ้าของ KPP

อนึ่ง KPP เริ่มขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2558 และจะมีอายุสัญญาซื้อขายกับ กฟผ. คงเหลือประมาณ 20 ปี ณ วันที่กองทุนรวมฯ เข้าลงทุนครั้งแรก (คาดว่าวันที่กองทุนรวมฯ จะเข้าลงทุนในผลประโยชน์จากการประกอบกิจการไฟฟ้าของ KPP ภายใต้สัญญาโอนผลประโยชน์ จะประมาณไตรมาส 3 ของปี 2563) สัญญาขายไฟฟ้าให้กับ KBS จะมีอายุคงเหลือประมาณ 20 ปี เช่นกัน

เนื่องจากโรงไฟฟ้าของ KPP มีกําลังการผลิตไฟฟ้าในปริมาณ 73 เมกะวัตต์ โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. มีปริมาณพลังไฟฟ้าสูงสุด 22 เมกะวัตต์ และสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ KBS มีปริมาณพลังไฟฟ้าสูงสุด 3.5 เมกะวัตต์ ด้วยเหตุข้างต้น การมีสัญญาซื้อขายระยะยาวจึงเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้กับรายได้ของกองทุนและช่วยให้การบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของรายได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

รายได้ที่กองทุนรวมฯ จะลงทุนเป็นครั้งแรกเป็นผลประโยชน์จากการประกอบกิจการไฟฟ้า คิดเป็นอัตราร้อยละ 62.00 ของรายได้ค่าไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปตามสูตรการคํานวณรายได้ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาโอนผลประโยชน์ฯ โดยมีระยะเวลาประมาณ 20 ปี

KPP ได้ดําเนินการประกอบกิจการโรงไฟฟ้ามามากกว่า 40 ปี โดยเริ่มจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานนํ้าตาล ก่อนเริ่มจําหน่ายให้บุคคลภายนอกในภายหลัง จึงทําให้ KPP มีความเชี่ยวชาญในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ ผู้บริหารและบุคลากรของ KPP มีประสบการณ์ ความสามารถ และความชํานาญในการควบคุมและดูแลการประกอบกิจการไฟฟ้า จึงทําให้มีความเชื่อมั่นได้ว่าการประกอบธุรกิจของ KPP จะเป็นไปอย่างมั่นคง และสามารถสร้างผลประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและสูงสุด

โรงไฟฟ้ามีรายได้หลักจากการจําหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. และการจําหน่ายไฟฟ้าส่วนหนึ่งให้กับ KBS โดย กฟผ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 เป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในประเทศโดยมีธุรกิจหลัก คือ การผลิต จัดให้ได้มา จัดส่งและจัดจําหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งจะจัดจําหน่ายให้ประชาชน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆต่อไป ปัจจุบันกฟผ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโรงไฟฟ้าทั้งหมด 40 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงโรงไฟฟ้าประเภทไฟฟ้าแรงสูงทั่วประเทศ ภายใต้รูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าแบบ Enhanced Single Buyer คือการให้ กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้ารายเดียว (Single Buyer) จากผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ก่อนส่งกระแสไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจําหน่าย เพื่อจําหน่ายแก่ กฟน. กฟผ. และลูกค้าภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ KPP ได้เข้าทําสัญญาระยะยาวสําหรับการซื้อไฟฟ้ากับ KBS โดยมีอายุสัญญาสอดคล้องกับระยะเวลาสัญญาโอนผลประโยชน์ฯ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงของการสร้างรายได้ จากการจําหน่ายไฟฟ้าแก่โรงไฟฟ้าและกองทุนรวมฯ มากขึ้น

วัตถุดิบหลักของโรงไฟฟ้า ได้แก่ กากอ้อย ซึ่ง KPP จะเข้าทําสัญญาจัดจําหน่ายวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงกับ KBS โดยมีระยะเวลาของสัญญาสอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาโอนผลประโยชน์ฯ ซึ่งจะช่วยให้โรงไฟฟ้ามีแหล่งวัตถุดิบที่แน่นอนและเชื่อถือได้ โดยในกรณีที่ KBS ไม่สามารถจัดหากากอ้อยที่มีคุณสมบัติตามสัญญาได้ครบตามปริมาณที่กําหนด หรือค่าความร้อนของเชื้อเพลิงประเภทกากอ้อยไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า โดยไม่ได้มีสาเหตุจากเหตุการณ์ พิเศษตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายวัตถุดิบเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า KBS ตกลงจะจัดหาวัตถุดิบ ชีวมวลทดแทน (วัตถุดิบชีวมวลประเภทกากอ้อย หรือประเภทอื่น เช่น ไม้สับ และใบอ้อย) ให้เท่ากับปริมาณกากอ้อยที่ขาดไปในราคาที่กําหนดภายใต้สัญญาจัดจําหน่ายวัตถุดิบในการผลิต เชื้อเพลิง หรือในกรณีที่ KBS ไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบทดแทนได้

KBS และ KPP ตกลงจะดําเนินการให้มีการวางหลักประกันเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติหน้าที่ของ KBS และ KPP ภายใต้สัญญาโอนผลประโยชน์ฯ และสัญญาตกลงกระทําการ

ภายใต้สัญญาตกลงกระทําการ KBS ตกลงที่จะดําเนินการดังต่อไปนี้

(ก) รักษาสัดส่วนการเป็นผู้ถือหุ้นใน KPP ของ KBS และ/หรือ กลุ่มบุคคลเดียวกันของ KBS เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ของจํานวนหุ้นสามัญทั้งหมดของ KPP ไม่ว่า ทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดระยะเวลาของสัญญาตกลงกระทําการ

(ข) ตกลงว่าจะไม่จําหน่าย จ่าย โอนหรือก่อภาระผูกพันใดๆ ในหุ้นดังกล่าว หรือกระทําการ ประการอื่นใด อันมีผลทําให้หุ้นของ KPP และหรืออํานาจควบคุมกิจการของ KPP ตกไปอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองทุนรวมฯ ก่อน หรือดําเนินการใดอันเป็นผลให้ KBS และ/หรือ กลุ่มบุคคลเดียวกันของ KBS ขาดอํานาจควบคุมกิจการใน KPP เว้นแต่เป็นการจํานําหุ้นของ KPP ตามสัญญาจํานําหุ้นระหว่าง KBS และ/หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันของ KBS (ถ้ามี) และกองทุนรวมฯ

(ค) รักษาสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมฯ ของ KBS และ/หรือ กลุ่มบุคคล เดียวกันของ KBS ให้ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 15.00 ของ (1) จํานวนหน่วยลงทุน ณ วันที่ กองทุนรวมฯ เข้าลงทุนสําเร็จ และ (2) จํานวนหน่วยลงทุนที่กองทุนรวมฯ มีการเพิ่มทุน เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่เป็นของ KBS หรือของบุคคลใดที่ KBS มีอํานาจควบคุมกิจการ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้นอย่างน้อย 10 ปี นับแต่วันที่กองทุน รวมฯ เข้าลงทุนสําเร็จ

(ง) ตกลงจะไม่ขาย หรือโอนหน่วยลงทุน หรือนําหน่วยลงทุน ไปจํานําหรือก่อภาระผูกพันใดๆ จนทําให้KBS และ/หรือ กลุ่มบุคคลเดียวกันของ KBS ถือครองหน่วยลงทุนรวมกัน ตํ่ากว่าสัดส่วนที่กําหนดไว้เว้นแต่ในกรณีจํานําหรือก่อภาระผูกพันใดๆให้กระทําได้เมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากกองทุนรวมฯ

(จ) ตกลงที่จะปฏิบัติตาม และตกลงจะดําเนินการให้ KPP ปฏิบัติตามสัญญาโอนผลประโยชน์ฯ และสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าลงทุนของกองทุนรวมฯ ที่ KBS และ/หรือ KPP เป็นคู่สัญญา และจะไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก และจะดําเนินการไม่ให้ KPP แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกสัญญาดังกล่าว รวมทั้งการดําเนินการ หรือละเว้นการดําเนินการใดๆ อันจะส่งผลกระทบในทางลบต่อสิทธิของกองทุนรวมฯ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากกองทุน รวมฯ หรือเป็นการใช้สิทธิที่กองทุนรวมฯ กําหนด

ดังนั้น การเข้าทําสัญญาตกลงกระทําการดังกล่าวของ KBS จะสร้างความเชื่อมั่นว่าการดําเนินการของโรงไฟฟ้า จะเป็นไปอย่างเรียบร้อยและราบรื่น

KBS และ/หรือ บริษัทย่อยของ KBS มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีการควบคุม และประเมินด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสมํ่าเสมอ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าชีวมวลของ KPP มีระบบการควบคุม มลสารทางอากาศ การควบคุมระดับเสียง การจัดการนํ้าทิ้ง การกําจัดกากของเสีย และมีพื้นที่สีเขียวในบริเวณโครงการโรงไฟฟ้า นอกจากนั้น KPP ยังให้ความสําคัญในการบริหารจัดการเพื่อให้การประกอบธุรกิจของบริษัทไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการอนุรักษ์และประหยัด พลังงาน KPP ได้วางแนวนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เช่น มีการตรวจวัดและควบคุมกระบวนการผลิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม โดย KPP มีการปฏิบัติตามมาตรการ EIA (Environmental Impact Assessment) อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะทําการส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ EIA ให้กับสํานักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นประจําทุก 6 เดือน ตามข้อกําหนด อีกทั้งบริษัทยังมีระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 และระบบการจัดการความปลอดภัย OSHAS 18001 โดยปัจจุบันบริษัทยังได้รับรางวัล อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับที่ 4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าการประกอบกิจการของ KPP จะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พนักงาน และชุมชนรอบข้าง ทั้งนี้KPP มีกากของเสียจากกระบวนการผลิตน้อยมาก เนื่องจากกากอ้อย กากตะกอน และ กากนํ้าตาลล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้เช่น กากอ้อยสามารถนําไปเป็นเชื้อเพลิงของหม้อไอนํ้า กากตะกอนสามารถนําไปทําเป็นปุ๋ยเพื่อการเพาะปลูก และกากนํ้าตาลสามารถนําไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นให้กับโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอื่นได้ส่วนระบบ บําบัดคุณภาพนํ้าให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน KPP ยังได้ติดตั้งเครื่องเติมอากาศชนิด Surface Aerator และมีการวัดคุณภาพนํ้าที่ผ่านระบบบําบัดนํ้าของบริษัท ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์มาตรฐาน กฎหมาย และ EIA โดย KPP ไม่มีการปล่อยนํ้าที่ผ่านการการบําบัดแล้วลงสู่แหล่งนํ้าสาธารณะ หรือสิ่งแวดล้อม โดยจะนํานํ้าที่ผ่านการบําบัดแล้วกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตใหม่โดยผสมกับ นํ้าดิบและกลับมาใช้งานอีกครั้งโดยผ่านกระบวนการ Water Treatment อีกครั้ง ส่วนนํ้าที่ผ่านการบําบัดที่เหลือจะนําไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น รดนํ้าต้นไม้ ฉีดพรมกองกากอ้อย รดนํ้าถนน เพื่อป้องกันฝุ่นต่อไป

KBS มีความตั้งใจจะถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมฯ เป็นจํานวนไม่เกินหนึ่งในสาม (หรือประมาณร้อยละ 33.33) โดยตามสัญญาตกลงกระทําการ KBS ตกลงจะดําเนินการดังต่อไปนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่กองทุนรวมฯ เข้าลงทุนสําเร็จ

(ก) ตกลงจะรักษาสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมฯ ของ KBS และ/หรือ กลุ่มบุคคลเดียวกันของ KBS ให้ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 15.00 ของ (1) จํานวนหน่วยลงทุน ณ วันที่กองทุน รวมฯ เข้าลงทุนสําเร็จ และ (2) จํานวนหน่วยลงทุนที่กองทุนรวมฯ มีการเพิ่มทุนเพื่อให้ ได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่เป็นของ KBS หรือของบุคคลใดที่ KBS มีอํานาจควบคุมกิจการ

(ข) KBS และ/หรือ กลุ่มบุคคลเดียวกันของ KBS ตกลงจะไม่ขาย หรือโอนหน่วยลงทุน หรือนําหน่วยลงทุนไปจํานําหรือก่อภาระผูกพันใดๆ จนทําให้KBS และ/หรือ กลุ่มบุคคล เดียวกันของ KBS ถือครองหน่วยลงทุนรวมกันตํ่ากว่าสัดส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ (ก) ข้างต้น เว้นแต่ ในกรณีจํานําหรือก่อภาระผูกพันใดๆ ให้กระทําได้เมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากกองทุนรวมฯ